องค์การบริหารส่วนตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา : www.makluakao.go.th

 
 
 


แผ่นพับประชาสัมพันธ์ การชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีป้าย


ภาษีโรงเรือนและที่ดิน     

          ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น  โรงเรือน หมายถึง บ้าน ตึกแถว อาคาร ร้านค้า สำนักงาน บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรือน แฟลต คลังสินค้า ฯลฯ

          อัตราภาษี ร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี

          1.เจ้าของทรัพย์สิน หรือผู้รับมอบอำนาจยื่นแบบแสดงรายการ  ทรัพย์สิน (ภ.ร.ด 2) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

          2.พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกแบบแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด.8) 3.ผู้รับการประเมินต้องชำระเงินภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแบบแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด.8)

          การอุทธรณ์  หากผู้รับการประเมินไม่พอใจในการประเมิน ให้ยื่นคำร้องขออุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแบบแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด.8)

          อัตราโทษและค่าปรับ

          1.  ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการมีความผิดโทษ ปรับไม่เกิน 200 บาท และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ ไม่เกิน 10 ปี         

          2.  ผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริง หรือไม่บริบูรณ์ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 8 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ได้ไม่เกิน  5 ปี

          3.  ถ้าชำระค่าภาษีเกินกำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ให้เสียเงินเพิ่ม ดังนี้.-      

               3.1  ไม่เกิน 1 เดือน เสียเพิ่ม 2.5%      

               3.2  เกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน เพิ่ม 5%      

               3.3  เกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน เพิ่ม 7.5%      

               3.4  เกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน เพิ่ม 10%      

               3.5  เกิน 4 เดือน ขึ้นไป ให้ยัดอายัดหรือขายทอดตลาด ทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระค่าภาษีได้

ภาษีบำรุงท้องที่

          การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินและชำระภาษี

          1.ให้เจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) และชำระภาษีปีละครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี

          2.ผู้ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลงให้ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน(ภ.บ.ท.5) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์

          การลดหย่อนและการยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่  พ.ร.บ.  ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 กำหนดโทษ ให้มีการลดหย่อนที่ดินบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน แปลงเดียวหรือหลายแปลงที่อยู่ในจังหวัดเดียวกันและ ให้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตนเป็นที่ี่เลี้ยงสัตว์ของตนหรือประกอบกสิกรรมของตน ให้ลดหย่อนไม่ต้อง เสียภาษีบำรุงท้องที่ตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง   ดังนี้        - ที่ดินนอกเขตเทศบาลหรือนอกเขตสุขาภิบาล ให้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 5 ไร่ แต่จะน้อยกว่า 3 ไร่ไม่ได้ ทั้งนี้ ตามกำหนดในข้อบัญญัติจังหวัด

          อัตราโทษและค่าปรับ

          1. ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีบำรุงท้องที่  (มาตรา 45(1))

          2. ยื่นรายการไม่ถูกต้องค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของราคาภาษีประเมินเพิ่มเติม (มาตรา 45 (2))

          3. ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่า ของค่าภาษีประเมินเพิ่มเติม (มาตรา 43(3))

          4. ชำระภาษีเกินกำหนดวันที่ 30 เมษายน ต้องเสียเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือนของค่าภาษี เศษของเดือนให้นับเป็น หนึ่งเดือน **อนึ่ง เงินเพิ่มนั้นกฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีบำรุงท้องที่ ด้วย (มาตรา 46)**

ภาษีป้าย     

          เป็นป้ายที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าหรือโฆษณาหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วย ตัวอักษร ภาพ หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

          อัตราภาษี  การประเมินค่าภาษีป้าย เป็นหน้าทีของพนักงาน เจ้าหน้าที่ การประเมินถือหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2535) ออกตามความใน พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ดังนี้

          1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตาราง เซนติเมตร

          2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพหรือเครื่องหมายอื่น ให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตาราง เซนติเมตร

           3. ป้ายดังต่อไปนี้ คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตาราง เซนติเมตร     

           - ป้ายที่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือ เครื่องหมายใดหรือไม่     

           - ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้ หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

          4. ป้ายที่คำนวณพื้นที่และประเภทของป้ายแล้วเสียภาษี ต่ำกว่า 200 บาท ให้เสียในอัตรา 200 บาท

          การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี

          1. เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้าย ยื่นแบบแสดง รายการภาษีป้าย ตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม ของทุกปี โดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดง ในปีแรกให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วัน และให้เสียภาษีป้ายเป็นราบงวด ๆ ละ 3 เดือน ของทุกปี

          2. ชำระภาษีป้ายภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง การประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่ 3. ถ้าภาาีป้ายเกิน 3,000 บาท จะขอผ่อนชำระเป็น 3 งวด เท่า ๆ กันก็ได้

          การอุทธรณ์  ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมิน แล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องให้ยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบภ.ป.4 ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับ แจ้งการประเมิน

          อัตราโทษและค่าปรับ

          1. ไม่ยิ่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเดือนมีนาคม หรือหลังติดตั้งป้าย 15 วัน เสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี

          2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ทำให้ ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีป้าย ที่ประเมินเพิ่ม

          3. ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง การประเมินเสียเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือนของค่าภาษี เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน

          4. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบรายการภาษีป้ายต้องระวาง โทษปรับตั้งแต่ 5,000 - 50,000 บาท

          5. ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้าย ภายใน 30 วัน ตั้งแต่ วันรับโอน ต้องระวางโ?ษปรับตั้งแต่ 1,000 - 10,000 บาท

          6. ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จหรือหลักฐานเท็จนำมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโ?ษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 - 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ





2023-12-04
2023-09-16
2023-09-11
2023-09-09
2023-09-03
2023-08-25
2023-08-25
2023-08-22
2023-08-07
2023-07-25